Last updated: 15 ม.ค. 2564 | 2047 จำนวนผู้เข้าชม |
"ดอกทอง" ชื่อว่านชนิดนึง ที่มีสรรพคุณทางเสน่ห์ แต่หลายคนไม่รู้ว่าทำไมถึงใช้ชื่อนี้ เพราะคำว่า "ดอกทอง" นี้
ยังเป็นคำด่า ที่ถือว่ารุนแรงและหยาบคายอย่างมาก หากไปเอ่ยให้ใครผู้หญิงคนไหนได้ยิน อาจจะได้โดนด่า หรือโดน
ตบแน่ๆ บางคนจึงใช้คำเลี่ยงๆว่า "สุวรรณมาลี" แทน
สรรพคุณแห่งว่านดอกทอง รู้กันในวงกว้างว่ามีฤทธิ์ทางเสน่ห์อย่างรุนแรง ถึงขนาดมีคำกล่าวไว้ว่า ห้ามปลูกไว้ใน
บ้าน ไม่เช่นนั้นว่านอาจจะออกฤทธิ์ถึงขั้นทำให้คนในเรือน เสพสมร่วมสังวาสกันเอง หรือจะทำให้ผู้ปลูกกลายเป็นคน
เจ้าชู้ มีคนเข้ามารุมล้อมมากมายด้วยความเสน่หา อันนี้เป็นสรรพคุณที่โบราณท่านว่าไว้
มีการทำการศึกษาในภายหลัง พบว่า"ว่านดอกทอง" อุดมด้วยสารฟีโรโมน โดยเฉพาะช่วงที่ดอกบาน และเกสรของ
มันยามฟุ้งกระจายก็จะส่งสารฟีโรโมนออกมาจำนวนมาก ซึ่งสารฟีโรโมนเป็นสารที่กระตุ้นความรุ้สึกพิศวาสและ
อารมณ์ทางเพศของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ความเชื่อที่โบราณท่านว่าไว้ จึงไม่น่าจะเกินความจริงแต่อย่างใด เพราะ
อารมณ์นั้นมีผลมากกับชีวิตมนุษย์
เหตุทึ่ว่ามา โบราณท่านจึงได้นิยมนำดอกทอง มาดองแช่ในน้ำมัน แล้วบริกรรมสวดด้วยคาถาเสน่ห์เมตตา
เพื่อให้ผลที่ดียิ่งกว่าใช้เพียงน้ำมันปรกติ หรือบางครั้งเพียงแค่แช่ดองว่านดอกทอง
ก็แทบจะไม่ต้องใช้คาถาบริกรรมแต่อย่างใด
มีบางคนตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า คำว่า "ดอกทอง" น่าจะมาจากคำว่า "หลกท่ง" ซึ่งเป็นภาษาแต้จิ๊ว เป็นคำด่าเช่น
เดียวกัน และแปลความหมายว่าหญิงเป็นคณิกา หรือนัยก็คือ "ดอกทอง" เป็นคำด่าว่า"กะหรี่" หรือหมายถึง
หญิงหลายใจ คนใช้ร่างกายเปลือง ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ เพียงแต่ว่า........
คำว่า"ดอกทอง" และ"ว่านดอกทอง"นี้ มีใช้และว่านนี้ก็รู้จักกันมาแต่เนิ่นนาน และแพร่หลายในหมู่คนเล่นอาคมกัน
มาหลายร้อยปี ก่อนหน้าที่คนในสังคมจะรู้จักคำว่า"หลกท่ง"เสียอีก เพราะคำว่า" หลกท่ง" มาเป็นที่รู้จักและใช้
กันเฉพาะในเขตรัตนโกสินทร์ หลังจากการตั้งชุมชมสำเพ็ง เมื่อช่วงสมัย ร.๒ ดังนั้นข้อสังเกตุที่ว่าคำว่า
"ดอกทอง" มาจาก"หลกท่ง" จึงไม่ใช่แต่อย่างใด เพราะชื่อว่านและคำด่า "ดอกทอง" นั้นมีมาก่อนยาวกว่านั้น
เป็นหลักร้อยปี
ที่มาของชื่อว่าน และคำด่าว่า "ดอกทอง" นี้เป็นภูมิปัญญาและความลึกล้ำทางการใช้ภาษาของคนโบราณ เพราะคำ
ว่าดอกทอง ที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นคำด่าอะไรตรงไหน แต่คำนี้เมื่อมันใช้การผวนคำแล้ว จะกลายเป็น "ดอกทอง" ผวน
เป็น "ดองทอก" (อธิบายเพิ่มเติมคำผวน เป็นการเล่นคำและทดสอบเชาว์ปัญญาของบัณฑิตและอาลักษณ์โบราณ
เชื่อว่าเริ่มต้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช แล้วแพร่หลายไปในหัวเมืองต่างๆ วรรณกรรม "สรรพลี้หวน" ซึ่ง
ยกย่องว่าผู้แต่งเป็นเอกอุแห่งการเล่นคำผวน ก็มาจากเมืองนครฯ)
มาแยกได้เป็นสองคำ คือ "ดอง" กับ "ทอก"
แปลความหมายตามคำ
"ดอง" แปลว่า แช่, หมักไว้, รักษาให้คงอยู่
"ทอก" แปลว่า "ควย"
"ดองทอก" แปลรวมว่า รักษาควยให้คงอยู่ มีควยมาแช่อยู่แบบนั้น ควยได้แช่อยู่เสมอ ความหมายอีกนัย ก็คือ ไม่
ขาดควย, ไม่ขาดหี" ซึ่งเป็นความลึกล้ำของการใช้ภาษา ที่คนยุคนี้นั้นบางคนก็ยังไม่รู้ ดังนั้นภูมิปัญญาโบราณ
หลายๆอย่าง ที่คนป้จจุบันคิดว่างมงาย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพียงแต่มันลึกล้ำเสียจนคนปัจจุบันนั้นเข้ากันได้ไม่
ถึง ศาสตร์หลายๆแขนงของโบราณ จึงค่อยๆเสื่อมหายไปอย่างน่าเสียดายในปัจจุบัน เพราะขาดคนเข้าใจและศึกษา
อย่างจริงจัง เมื่อไม่เข้าใจก็คิดว่างมงาย และไม่มีอยู่จริงนั่นเอง
ในโหลที่ดองอยู่นี้คือว่านดอกทองหายากอีกพันธุ์นึง
เรียกว่า "ดอกทองโยนี" เหตุเพราะว่านดอกทองนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ก็กลิ่นนั้นเหมือนโยนีจริงๆ (ใครอยากรู้ว่ากลิ่น
ยังไงก็ลองไปหาดมเอาดูเองครับ)เมื่อนำมาหั่นหรือ บดจะยิ่งส่งกลิ่นรุนแรง คาวเหมือนกับน้ำเมือกที่ออกมาจากโยนี
จึงเป็นที่มีมาของชื่อ ซึ่งดองไว้นานจนได้ที่ แต่ไม่เคยได้นำมาใช้ซักที หลังจากนี้คงได้นำมาใช้
วันนี้นำความหมายของคำว่า "ดอกทอง" ที่แท้จริง มาให้ได้อ่านกัน หลังจากนี้ก็อย่าไปเหมารวมกับคำว่า
"หลกท่ง" ที่เป็นภาษาแต้จิ๊วล่ะครับ ของเราก็มีของเรา ไม่จำเป็นต้องไปเอาคำของเขามาใช้แต่อย่างใด
1 ส.ค. 2566
2 เม.ย 2566
13 ก.ย. 2566
27 เม.ย 2566