Last updated: 9 มิ.ย. 2563 | 6420 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้อห้ามของคนเล่นของเรียนวิชา นั้นมีหลายข้อ
ข้อนึงมีอยู่"ห้ามข้ามสะพานหัวเดียว"ถ้าถือเอาความหมายตรงๆ ชีวิตนี้ก็คงจะลำบากน่าดู
ข้อห้ามต่างๆที่โบราณจารย์ท่านกำหนดไว้นั้น หลักๆจะเป็นอุปมา อุปมัยมากกว่าจะเป็นความหมายตรงๆ เพื่อเป็นการทดสอบไหวพริบและเชาว์ปัญญาของผู้
ร่ำเรียน และอีกประการนึงเพื่อทดสอบความถือมั่น ว่าจะทำตามข้อห้ามของครูบาอาจารย์ท่านได้หรือไม่
ตามคำที่ว่า คนที่เข้าถึงไสยศาสตร์ได้ มีสองประเภท
๑.โง่ที่สุด
๒.ฉลาดที่สุด
โง่ที่สุด คือ ปราศจากข้อลังเลสงสัย ต่อให้สงสัยก็เชื่อในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ให้ปฎิบัติอย่างเคร่งครัด
ฉลาดที่สุด คือ รู้แจ้งถึงเหตุผลว่าทำไมท่านถึงได้ห้ามเช่นนั้น
ส่วนพวกที่คิดว่า ข้อห้ามของครูบาอาจารย์ช่างไร้สาระ มันจะเป็นอะไรกับแค่ ข้ามสะพานหัวเดียว ถ้าไม่ข้ามก็ไม่ต้องไปไหนกันพอดี.... พวกนี้เรียกว่าครึ่งๆ
กลางๆ แต่จริงแล้วมันไม่ต่างจากโง่แล้วอวดฉลาด คนประเภทนี้คือจะไม่มีทางเข้าถึงไสยศาสตร์ และสุดท้ายจะถอดใจกลายเป็นเลิกเชื่อถือ และหันมา
ต่อว่าคนเชื่อไสยศาสตร์ว่าโง่ งมงาย ไร้ปัญญา ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นทั่วไปในปัจจุบันนี้
ข้อถือ"ห้ามข้ามสะพานหัวเดียว" หลักๆแล้วเป็นการอุปมัย คือ อย่าเป็นคนทำอะไรครึ่งๆกลางๆ ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ตลอด, อย่าเป็นคน
เห็นแต่ประโยขน์ตนฝ่ายเดียว, ทำอะไรให้คิดรอบคอบ และรู้หาทางถอยและทางแก้ปัญหา หาทางออกทางอื่นเผื่อไว้........
นี่เป็นเพียงข้อห้ามเดียว แต่อุปมานั้นลึกล้ำและเป็นปริศนาสุดแสนแยบคาย จนถึงขนาดว่าคนเล่นของยุคสมัยนี้ แทบจะไม่รู้ถึงความหมายที่ซ่อนอยู่กันแล้ว
ดังนั้นแล้ว ใครจะบอกว่าคนโบราณนั้นไร้ปัญญาและเหตุผลสิ้นดี คนที่คิดแบบนั้นคือคนที่เข้าไม่ถึงความสูงส่งและภูมิปัญญาของคนโบราณ เอาจิตใจที่
หยาบช้า มาตัดสินความละเมียดละไม ตามแบบฉบับคนยุคนี้ ที่ฉาบฉวยและด่วนตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยความไร้ปัญญาของตัว
"ไสยศาสตร์" บางคนจึงไม่ได้แปลว่า "ศาสตร์ที่ทำให้หลับไหล ไม่ตื่นรู้" หากแต่เป็นศาสตร์ที่ไม่แค่เพียงลืมตาและมองเห็นได้ แต่ใช้หัวใจมอง ถึงจะเข้าถึง
ได้ และผู้เข้าถึงได้ คือผู้ที่เป็น"เสยยะ" คือเหนือกว่าคนทั้งหลาย วันนี้พอเท่านี้วันหน้าค่อยมาเจาะลึกถึงข้อห้ามอื่นๆกันต่อครับ
10 พ.ย. 2566
1 ส.ค. 2566
16 ต.ค. 2566
13 ก.ย. 2566