Last updated: 3 พ.ค. 2563 | 7807 จำนวนผู้เข้าชม |
มีคำนึงของบรรดาผู้เรียนวิชาคาถาอาคมยุคก่อนนี้ กล่าวอันว่าพุทธมนต์นั้น หากใช้ในเชิงพุทธก็จะเป็นพุทธ หากใช้ในเชิงยุทธก็จะเป็นยุทธ ออกจะฟังดู
คล้ายกับหนังกำลังภายในอยู่บ้าง หากแต่ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ
คาถาอาคมที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีสามแบบ แบบแรกคือ เป็นคำถอดจากบางวรรคตอนในพระไตรปิกฎ และคัมภีร์อรรถกถา หรือรจนาใหม่เป็นภาบาลี แบบ
ที่สองคือเป็นคำร้อยแก้ว และแบบสามคือเป็นคำร้อยแก้วรวมกับบาลี บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจตรงนี้ ไว้มีเวลาค่อยมาเขียนบทความเพิ่มเติมอีกที
ในบทสวดพระพุทธมนต์ที่ท่องสวดกันอยู่ทุกวันนี้ มีอยู่หลายบทที่สามารถใช้ในเชิงคาถาอาคมได้เป็นอย่างดี แต่คนยุคนี้มักจะมองข้ามไป คิดว่าเป็นคาถาที่
ไม่มีอานุภาพอะไรในเชิงอาคม และอีกเหตุผลก็คือหากใช้คาถาเหล่านี้ ไม่สามารถจะไปอวดและข่มใครได้ ว่ามีคาถาแปลกหายากและไม่เหมือนใคร ทำให้
คาถาดีๆหลายคาถาถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย
วันนี้ผมนำบทสวดพระพุทธมนต์บทนึง ที่ได้ชื่อว่ามีอานุภาพมากมาย แต่หาได้ง่ายที่สุด (แค่หาในกูเกิลก็เจอแล้ว) และถูกมองข้ามไปมากที่สุด ซ้ำร้ายไป
กว่านั้นถูกเข้าใจไปผิดๆมากที่สุด ทั้งๆที่คาถานี้พุทธคุณนั้นมากมายเปรียบดั่งเช่นฝอยท่วมหลังช้าง
บทสวดนั้นมีชื่อว่า บทถวายพระพรพระพุทธเจ้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พาหุงฯ”นั่นเองครับ หลายๆคนน่าจะพอทราบถึงอานุภาพบทสวดนี้กันอยู่บ้าง บางคน
เข้าใจผิดๆว่าอย่าไปสวดคาถานี้ในป่าช้าหรือต่างถิ่น เพราะว่าแรงมากและจะไปรบกวนวิญญาณ สัมภเวสีต่างๆ ซึ่งหากมาพิจารณาดูกันในบทสวดพาหุง จะมี
ลงท้ายด้วย ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ แปลความหมายคือ ขอให้การชนะมารนั้น จงเป็นมงคล แก่ท่านทั้งหลาย......ดังนั้นบทนี้ไม่ใช่เป็นการ
รบกวนและทำให้วิญญาณต่างๆได้รับความทรมานกันอย่างที่เข้าใจกันผิดๆไป หากจะส่งผลก็ส่งผลกับวิญญาณที่มุ่งร้าย และประสงค์ร้ายเป็นหลัก
นี่เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันมานาน
มาว่าและพิจารณากันถึงคาถานี้แบบละเอียดกันดู คาถา”พาหุงฯ”นี้ เป็นคาถาที่แต่งขึ้นในภายหลัง เพื่อเป็นการสรรเสริญถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า มีถ้อย
ความคาถาทั้งหมด ๘ บท และในเนื้อความคาถาทั้ง ๘ บท บรรยายถึงชัยชนะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเหตุการณ์สำคัญๆ ในช่วงพระชนม์ชีพ
ของพระองค์ บรรยายไว้ดังนี้
๑.พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล บทที่๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรม
วิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๒.มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปล บทที่๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง ด้วยวิธีที่ทรง
ฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี (คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๓.นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ของ
องค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๔.อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ มีฝีมือ ถือดาบวิ่ง
ไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๕.กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะคัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็น
ประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๖.สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ (อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัย
พุทธกาล) ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัส
เทศนาให้มองเห็นความจริง ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๗.นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลง
ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๘.ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
คำแปลบทที่ ๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้
อย่างแน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
คำแปลบทท้าย นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้านสวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย
มีประการต่าง ๆ เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล
นี่คือใจความแห่งพระพุทธมนต์บทพาหุง ส่วนการใช้พระพุทธมนต์บทนี้ทางเวทย์มนต์ โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
พาหุงฯ บทที่ ๑ ใช้ทำน้ำมันไล่ผีและถอนคุณไสย
พาหุงฯ บทที่ ๒ ใช้เสกยากิน เสกน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์
พาหุงฯ บทที่ ๓ ป้องกันสัตว์ร้าย แคล้วคลาดจากศัตรู ป้องกันอัคคีภัย
พาหุงฯ บทที่ ๔ ทำน้ำมนต์มหานิยมเรียกโชคเรียกลาภ
พาหุงฯ บทที่ ๕ ให้ทำให้ศัตรูลดความอาฆาตกลับกลายเป็นมิตร
พาหุงฯ บทที่ ๖ ภาวนาเป็นประจำ พูดจาทำให้คนเชื่อถือ
พาหุงฯ บทที่ ๗ ใช้ถอนของถอนยาแฝด ป้องกันอสรพิษ
พาหุงฯ บทที่ ๘ ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ว่าผู้ใดทำของใส่จะสะท้อนกลับหมด
จะเห็นได้ว่า บทพาหุงฯทั้ง ๘บทนี้ สามารถใช้ได้แทบจะทุกประการ เรียกได้ว่าแค่จำคาถาบทนี้ได้ ก็สามารถกระทำการได้ทุกประการแล้ว บางคนอาจจะยัง
สงสัยว่า ทำไมคาถาพระพุทธมนต์ง่ายๆแค่นี้ถึงได้มีอานุภาพมากนัก นั่นก็เพราะว่าในทางพุทธแล้ว ไม่มีคุณอันใดที่ยิ่งใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่ง
สูงสุด ในการกระทำพิธีใดๆ ก็ล้วนแต่ต้องอารารธนาคุณแห่งพระรัตนตรัย คุณแห่งพุทธเจ้า เป็นอันดับแรกก่อนเสมอ เพื่อขอพลังแห่งกระแสมโนยิทธิอันแรง
กล้าของพระพุทธองค์ ที่หวังให้สัตว์โลกทั้งหลายพ้นทุกข์ ได้มีชีวิตที่เป็นสุขกัน แม้เวลาจะผ่านมากว่าสองพันห้าร้อยกว่าปี แต่กระแสพลังตรงนี้ก็ไม่ได้ลด
น้อยหรือเบาบางลงแต่อย่างใด คนร่ำเรียนคาถาอาคมที่มองข้ามความสำคัญแห่งการอาราธนาคุณแห่งพระรัตนตรัย หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “คุณพระ” จะไม่มี
วันประสบความสำเร็จใดๆในทางไสยเวทย์และอาคมเด็ดขาด
"พุทโธ อัปปมาโณ ธัมโม อัปปมาโณ สังโฆ อัปปมาโณ"
คุณของพระรัตนตรัยไม่มีประมาณ จะเล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ สำคัญตรงที่กำลังใจของเราว่ายึดมั่นหรือไม่ วิชาพระไม่แตกฉาน วิชามารไม่รู้จัก จะเอาอะไรไป
ช่วยเหลือผู้คนและปกป้องพระศาสนา ฝากแก่ผู้คิดจะร่ำเรียนไสยเวทย์และอาคมรุ่นหลังๆ โปรดจงระลึกกันเอาไว้
ส่งท้ายด้วยหัวใจคาถาพาหุง “พา มา นา อุ กา สะ นะ ทุ” ส่วนจะเอาไปใช้ยังไง ผมคงไม่ต้องบรรยายใดๆอีก
สำนักฤษเวทย์ ไสยเวทย์วิทยาและมนตราอีสาน
2 พ.ย. 2565
27 เม.ย 2566
2 เม.ย 2566
5 ต.ค. 2565