Last updated: 30 มี.ค. 2563 | 8807 จำนวนผู้เข้าชม |
"โอม มณีปัทเมฮูม" หรือบางทีก็ออกเสียงเป็น "โอม มณีปัทเมหุงหริ"
เป็นคาถาศักดิ์ของศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน ลัทธิมนตรยาน หรือวัชรญาณ ในธิเบต
เป็นคาถาสั้นๆแต่เปี่ยมด้วยอานุภาพอย่างล้นเหลือ
"ธิเบต" ถือเป็นดินแดนแห่งอภินิหารและมนต์ คาถาบทนี้ ถ้าแปลความหมายเป็นไทย จะได้ความว่า "มณีมนตรา"
ทั่วทั้งดินแดนธิเบต และในแถบที่ศาสนาพุทธ นิกายมนตรยานแพร่เข้าไป ไม่ว่าจะคนหนุ่มสาว แก่เฒ่า เด็กเล็ก
จะภาวนาและท่องบ่นมนต์บทนี้กันทั้งสิ้น ท่องกันวันนึงหลายต่อหลายจบ แทบจะตลอดเวลาทุกลมหายใจ
ทางฝ่านมนตรยานถือกันว่า มนต์และคาถาต่างๆนั้นสร้างสมาธิ ใช้คำภาวนาในการเข้าถึงสมาธิกันแทน
บทนี้ชาวธิเบตเชื่อว่า ได้รับมาจาก "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" ซึ่งท่านนำมามอบแก่มนุษย์
โดยท่านเองนั้นได้รับการประสิทธิ์ ประสาทจาก "พระอมิตาภาพุทธเจ้า" เทพบิดรของพระองค์
ในนิกายมนตรยาน ที่ถือเอาพระโพธิสัตว์เป็นที่พึ่งสูงสุด จึงได้ยึดถือเอามนต์บทนี้ เป็นมนต์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และปาฎิหาริย์อย่างมาก
ความหมายของมนต์นี้ อุปเท่ห์ไม่ต่างจากหัวใจคาถาที่เรารู้จักคุ้นเคยกัน ถอดออกมาความหมายได้เป็น
โอม คือคำนำหน้าของมนต์คาถาทุกๆอย่าง
๑.มณี หมายถึง มหาบุรุษ อันหมายถึงพระผู้เป็นเจ้า
๒.ปัมเม หมายถึง ดอกบัว แทนสสารที่ประกอบเป็นสังขาร
๓.ฮูม หรือ หุง เป็นคำลงท้ายของมนต์คาถาทุกบท เพื่อให้คาถามีความศักดิ์สิทธิ์ ความหมายเหมือน "สวาหุม" หรือ "สวาหะ" ในภาษาสันสกฤต
๔.หริ บางที่ก็ใช้คำนี้ บางที่ไม่ใช้ เป็นคำต่อท้าย ความหมายคือ "หฤทัย" หรือหัวใจ
ความเชื่อของชาวธิเบต เชื่อว่า การเปล่งมนต์คาถาบทนี้ในแต่ละครั้ง จะสามารถดับการปฎิสนธิในภพทั้ง ๖ ได้
เพราะความเชื่อของพุทธศาสนา การเกิดในวัฎสงสารคือการเริ่มต้นแห่งทุกข์ การขจัดทุกข์อย่างสิ้นเชิง
คือการไม่ปฎิสนธิ ไม่เกิดใหม่ ซึ่งก็คือนิพพาน
มนต์"โอม มณีปัทเมฮูม" จะเขียนลงบนผืนผ้า เป็นธง เขียนลงบนไม้ สลักลงบทเหล็กรูปทรงกระบอก
เมื่อเจอที่ไหน ผู้คนจะเอามือไปหมุน เพื่อเป็นเสมือนการภาวนาคาถานี้ ธงที่พัดโบก ก็เท่ากับเปล่งเสียงสวดมนต์นี้
เหตุนี้มนต์ธิเบต จึงได้ทรงอานุภาพ และมีความศิกดิ์สิทธิ์มาก เพราะมนต์นี้แทบจะไม่เคยสิ้งเสียงสวด หรือเสียงภาวนาไปจากดินแดนแห่งนี้เลย
ต้นกำเนิดแห่งความศักดิ์สิทธิ์นั้น มาจากความศรัทธา พื้นที่ไหนที่ไม่มีศรัทธาเป็นพื้นฐาน ก็ไม่มีพลังแห่งศรัทธาไปหนุนให้เกิดอิทธิฤทธิ์
และปาฎิหาริย์ใดๆได้ เหตุนี้ดินแดนตะวันตกส่วนใหญ่ คาถาอาคมต่างๆนั้นจึง ใช้ไม่เป็นผล อาจจะได้ผลบ้าง แต่ก็อ่อนแรงเต็มที
ไม่อาจจะเกิดความสำเร็จใดๆ.........
ดังนั้นแล้ว ศรัทธาและความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญ ความศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์ ไม่ได้เพียงอยู่ที่ความเชื่อมั่นของตัวผู้ใช้
หากแต่ยังขึ้นอยู่กับพื้นที่และภูมิประเทศอีกด้วย บ้านเราที่ไสยศาสตร์ยังแข็งกล้า ส่วนนึงเพราะเรื่องไสยเวทย์อาคมนั้น
อยู่คู่กับดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้มาแต่ครั้งบรรพกาลนั่นเอง.......
16 ต.ค. 2566
1 ส.ค. 2566
13 ก.ย. 2566
10 พ.ย. 2566