ความหมายของ"พระเวทย์"

Last updated: 28 มี.ค. 2563  |  2164 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความหมายของ"พระเวทย์"

"พระเวท" ถือเป็นพินัยกรรมทางกวีนิพนธ์ของปฏิกิริยาร่วมกันของชาวฮินดู

ซึ่งมีต่อความอัศจรรย์ และความหวาดหวั่นในการดำรงชีวิต ประชาชนชาตินี้ผู้มีจินตนาการอันเข้มแข็งและสดใส

ได้ตื่นขึ้นในสมัยรุ่งอรุณแห่งอารยธรรม และได้รู้สึกถึงความลึกลับอันไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีปรากฏอยู่ในชีวิต

มันเป็นความเชื่อถืออย่างง่ายๆ


แต่พราหมณ์ฮินดูยุคแรกที่บัญญัติพระเวทขึ้นมา ไมกล้าที่จะอ้างเอาความรู้ที่ค้นพบนี้

อวดอ้างเอาว่าเป็นการค้นพบของเหล่าตน จึงได้กล่าวว่าเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้ามอบให้ผ่านทางจิตวิญญาณตามธรรมชาติในป่าเขา

ผู้บัญญัติกล่าวว่าจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ นิมิตมาให้สัมผัสในรูปลักษณ์ของ"วัวป่า"จึงเป็นที่มาแห่ง "โคนนทิ"

พาหนะแห่งพระอิศวรที่นำเอาสาสน์จากพระองค์มาถ่ายทอดสู่มนุษย์ วัวจึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู มาแต่ยุคดั้งเดิม

จึงได้อ้างเอาว่าเทพเจ้าเป็นสาเหตุแห่งธาตุมูลและพลังทุกชนิดของธรรมชาติ

แต่เป็นความเชื่อถือที่องอาจและเปี่ยมด้วยความหวัง ความรู้สึกถึงสิ่งลี้ลับมหัศจรรย์เช่นนี้ก่อให้เกิดความเสน่หาต่อชีวิตมากขึ้น

มิได้ถ่วงให้ชีวิตหนักลงด้วยความงงงวยแต่ประการใด

มันเป็นความเชื่อถือของชนชาติ ซึ่งไม่มีภาระต้องครุ่นคิดถึงความหลายหลากอันขัดแย้งกันในโลกแห่งวัตถุวิสัย

แม้ว่าในบางครั้งความเชื่อถือนี้ ได้รับแสงเจิดจ้าจากประสบการณ์ภายใน เช่น สัจธรรมนั้นมีหนึ่งเดียว ผู้รู้จะเรียกสิ่งนั้นด้วยชื่อต่างๆกันก็ตาม"


                                                                สำนักฤษเวทย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้